สงขลา - เดินหน้าแก้ปัญหาขยะล้นเมือง

เทศบาลนครหาดใหญ่ เดินหน้าแก้ปัญหาขยะล้นเมือง เปิดตัวโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ด้วยการแปลงขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ลบภาพลักษณ์เดิมที่ได้ชื่อว่า สงขลาเป็นจังหวัดที่มีขยะตกค้างมากที่สุดในประเทศไทย
 
ขยะตกค้างในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถูกลำเลียงเข้าสู่สายพานคัดแยกขยะ ภายในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ของเทศบาลนครหาดใหญ่ หลังขยะเหล่านี้ กลายเป็นขยะสะสมตกค้างนานนับสิบปี จนทำให้จังหวัดสงขลาได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีขยะสะสมมากที่สุดในประเทศไทย

ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้น เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงให้เอกชนเข้ามาลงทุนและจัดตั
้งโรงงานกำจัดขยะ ด้วยงบประมาณ 850 ล้านบาท โดยการแปลงขยะให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ในระยะเวลาตามสัญญา 25 ปี เพื่อลดปัญหาขยะสะสมของจังหวัด ที่เพิ่มขึ้นวันละ 1,600 ตัน

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะแห่งนี้ ใช้การทำงานด้วยระบบแก๊สซิฟิ
เคชั่น หรือการให้ความร้อนแก่วัตถุ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ ภายใต้การควบคุมออกซิเจน ความชื้น ความดัน และอุณหภูมิ เพื่อให้ได้ก๊าซเชื้อเพลิง ที่สามารถนำไปใช้ในรูปของพลังงานไฟฟ้า ส่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

สอดคล้องกับแผนโรดแมฟ การจัดการขยะของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ปัญหาขยะเก่าตกค้
าง และ ออกกฎหมายจัดการขยะที่เกิดใหม่ โดยใช้จังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่นำร่อง และให้กรมควบคุมมลพิษ ร่าง พรบ.การจัดการขยะแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายปี 2560 ทุกพื้นที่ต้องห้ามเทขยะและมีระบบกำจัดขยะที่ได้มาตรฐาน

ปัจจุบัน จ.สงขลามีขยะสะสม มากกว่า 2,400,000 แสนตัน ซึ่งหากโรงงานแห่งนี้กำจั
ดขยะได้วันละ 250 ตัน เท่ากับว่า จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 26 ปี เพื่อจัดการขยะตกค้างทั้งจังหวัด 
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีขยะตกค้างมากถึง 30 ล้านตัน แต่มีโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากขยะ เพียง 5 แห่ง ในพื้นที่ จ.กรุงเทพมหานคร, จ.ภูเก็ต, จ.ขอนแก่น, จ.ระยอง และ จ.สงขลา ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันตามแผนโรดแมฟ การจัดการขยะของไทย ในกรอบระยะเวลา 5 ปี ต้องมีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ ให้ได้จำนวน 30 จังหวัด เพื่อลดขยะตกค้างและสุขภาวะของประชาชน